ฉากญี่ปุ่น
เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่นที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 แม้เวลาจะผ่านไปนานแล้ว
แต่ก็ยังถือว่าเป็นหนังสือคลาสสิกที่คงความเป็นอมตะจนถึงปัจจุบัน
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ถ่ายทอดลีลาการเล่าเรื่องความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีชีวิต แนวคิด ความเชื่อ รวมทั้งการเมืองการปกครองของญี่ปุ่นไว้ในหลายแง่มุม เสมือนหนึ่งว่าได้ฟังท่านเล่าถึงเบื้องหน้าและเบื้องหลังของญี่ปุ่นไว้ได้อย่างครบจบความเป็นฉาก ๆ ชนิดที่ “ตามเข้าไปดูเขาให้ถึงในบ้าน” และ “ได้รู้จักกันทุก ๆ อารมณ์” ส่งผลให้เกิด “ความเข้าใจอันถูกต้อง” ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของการก่อร่างสร้างอาณาจักรเป็นประเทศญี่ปุ่น เรื่องของภูมิประเทศและ ผู้คน หลักสามภักดี เรื่องศาสนาพุทธ ชินโต บูชิโด โชกุน ซามูไร เกอิชา เทวดาและทหาร เรื่องราวของจักรพรรดิกับสถานะความเป็นเทวดา การขยายอาณาจักรอย่างวู่วามจนต้องปิดประเทศ การปราชัยในสงครามโลกครั้งที่ ๒ และหลอมรวมประเทศขึ้นมาได้ใหม่อีกครั้ง ผู้อ่านจึงได้เข้าใจญี่ปุ่นอย่างรู้ลึกรู้จริงถึงแก่นแท้จากบทความสั้นๆ ที่อ่านเข้าใจง่าย อีกทั้งท่านยังได้วิเคราะห์เปรียบเทียบกับเหตุการณ์ของประเทศไทยที่บังเอิญตรงกันหลายเหตุการณ์อย่างไม่น่าเชื่อ จนกลายเป็นเสน่ห์อีกหนึ่งอย่างของหนังสือเล่มนี้
อ่านแล้วได้อะไร
- ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์และชนชาติญี่ปุ่นอย่างลึกซึ้งถึงแก่น
- ได้เรียนรู้ถึงรากเหง้า และวิถีชีวิต ความเชื่อ ที่ทำให้คนญี่ปุ่นเป็นคนญี่ปุ่นในปัจจุบัน ที่ก้าวผ่านความยากลำบาก
จากประเทศที่แพ้สงครามกลับมาเป็นมหาอำนาจได้อีกครั้ง
- ได้เห็นความเป็นมา มุมมองในหลายเรื่องๆ ที่เราคุ้นเคยเกี่ยวกับญี่ปุ่น เช่น ชินโต บูชิโด โชกุน ซามูไร เกอิชา จักรพรรดิ ทำไมญี่ปุ่นถึงเป็นดินแดนแห่งพระอาทิตย์
- ได้เรียนรู้ความรักชาติ ความมีอุดมกาณ์ ความกตัญญูรู้คุณ ความกล้าหาญ การยอมรับความพ่ายแพ้ ก้าวข้ามความยากลำบาก และการสร้างความเข้มแข็ง อดทน
จุดเด่น
- เป็นหนังสือที่คงความเป็นอมตะ เพราะเรื่องราวที่ท่านนำมาเขียนเป็นข้อเท็จจริง รวมทั้งเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ท่านได้ย่นย่อเรื่องราวต่างๆ ที่หลากหลายและน่าสนใจของประเทศญี่ปุ่นมารวมไว้ภายในเล่มเดียว
- ด้วยสำนวนลีลาการเขียนของท่าน ได้สมกับคำว่าปราชญ์แห่งของแผ่นดิน
เกี่ยวกับผู้เขียน
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
นักเขียนและนักวิชาการชาวไทยที่มีชื่อเสียงในวงการวรรณกรรมไทย และเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่มีบทบาทในการพัฒนาวรรณกรรมและการศึกษาในประเทศ ผลงานของเขาครอบคลุมหลายแขนงตั้งแต่นวนิยาย เรื่องสั้น บทกวี จนถึงบทความวิจารณ์วรรณกรรม โดยเนื้อหาในผลงานมักจะสะท้อนถึงประเด็นทางสังคมและการเมืองอย่างเข้มข้น นอกจากนี้ เขายังมีบทบาทในการเป็นนักวิชาการ โดยมีการทำงานวิจัยและเขียนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับวรรณกรรมและสังคมไทย ซึ่งผลงานเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการศึกษาและการสอนในระดับอุดมศึกษา รวมถึงการเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักเขียนรุ่นหลังในการสร้างสรรค์ผลงานทางวรรณกรรมต่อไป