แบบนี้ดีต่อใจ (ชุดในสวนของย่า)
พัฒนาทักษะสมอง EF ด้วยนิทานชุดในสวนของย่า
พร้อมคำแนะนำจากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้าน EF
ต้นชมพู่มะเหมี่ยวแสนใจดีข้างสวนของย่า ไม่ว่าจะมีใครมารบกวนก็ไม่เคยรำคาญ แต่กลับมองทุกสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องดี ๆ เพราะแบบนี้ดีต่อใจมากกว่า
-ตามรอยย่าหลานเส้นทางสู่การพัฒนาทักษะสมอง EF-
“ดีต่อใจจริง ๆ” อ่านนิทานเล่มนี้จบก็ต้องพูดเหมือนแม่มะเหมี่ยว พลางคิดตามไปด้วยว่าถ้าคนบนโลกใบนี้ใจดีเหมือนแม่มะเหมี่ยว เราจะอยู่กันอย่างมีความสุขขนาดไหนนะ
นิทานเรื่อง “แบบนี้ดีต่อใจ” เป็นนิทานที่สร้างสรรค์อย่างอ่อนโยนจากสิ่งใกล้ตัวที่เด็กผูกพันและคุ้นชิน เล่าผ่านเสียงจากภายใน ด้วยวิธีคิดในมุมบวกและสร้างสรรค์ เปิดกระบวนการการคิดแบบใหม่ให้แก่เด็ก ๆ มองหาสิ่งดีในสิ่งที่หลายคนคิดว่าไม่ดี
และมองหาสิ่งถูกที่หลายคนคิดว่าผิด ซึ่งกระบวนการฝึกคิดแบบนี้มีผลโดยตรงกับการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions)
ในส่วนของการฝึกยืดหยุ่นความคิด (Shift/Cognitive Flexibility)
เด็กจะค่อย ๆ ซึมซับวิธีการมองโลกในแง่ดีและพยายามแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เข้าใจถึงการพึ่งพาและเกื้อกูล
เอาใจเขามาใส่ใจเรา (Empathy) มีความสุขกับสิ่งเล็ก ๆ รอบตัวได้โดยง่าย แถมยังส่งผลให้เกิดการพัฒนาทักษะการควบคุมอารมณ์ (Emotional Control) ตามมาอีกด้วย
ซึ่ง EF ทั้งสองทักษะนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อการก้าวเข้าสู่โลกแห่งการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของเด็ก ๆ เลยทีเดียว"
-ภูวฤทธิ์ ภูวภิรมย์ขวัญ- ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาทักษะสมอง EF
-นายเเพทย์ประเสริญ ผลิตผลการพิมพ์ชวยคุย-
"มด นก กระรอก กล้วยไม้ รวมทั้งที่มาปรากฏกายในตอนจบ เหล่านี้เป็นชีวิตเล็กน้อยที่ได้พึ่งพิงชีวิตที่ใหญ่กว่า แข็งแรงกว่า ที่สำคัญคือมีจิตใจดี พร้อมจะให้และแบ่งปันด้วยเหตุผลง่าย ๆ เพียงว่าดีต่อใจ
เมื่อเด็กอ่านหนังสือเล่มนี้ไม่ต้องสอนว่าแล้วได้อะไร ขอเพียง “มองเห็น” จิตใจของแม่ชมพู่มะเหมี่ยวและความยิ่งใหญ่ของเธอก็พอแล้ว"


