ไม่เหมือนกัน แต่ก็เหมือนกัน (ชุดไปสวนกับย่า)
พัฒนาทักษะสมอง EF ด้วยนิทานชุดไปสวนกับย่า
พร้อมคำแนะนำจากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้าน EF
ระหว่างที่ย่าหลานเดินเที่ยวสวนสาธารณะด้วยกัน หลานได้สังเกตธรรมชาติรอบตัว และเกิดคำถามว่าทำไมสิ่งต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน ย่าจึงชวนให้เรียนรู้ว่าสิ่งที่ไม่เหมือนกัน แต่ก็เหมือนกันได้
คำนิยม นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
เด็กมักจำแนกด้วยการมองเห็นก่อน แต่ที่จริงเด็ก ๆ มีสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และมือ ตามองเห็นว่าเหมือนหรือไม่เหมือน หูได้ยินเสียงว่าเหมือนหรือไม่เหมือน จมูกได้กลิ่น ลิ้นลิ้มรส มือลูบคลำ แยกได้ว่าเหมือนหรือไม่เหมือน หากเด็ก ๆ ได้รับโอกาสให้กำหนดตัวบ่งชี้หรือตัวแปรเอง ก็จะจำแนกแยกชั้นสรรพสิ่งได้ละเอียดอ่อนมากขึ้น ละเอียดอ่อนมากพอที่จะเห็นดังที่ว่า “คนไม่เหมือนกัน แต่ก็เป็นคนเหมือนกัน”
จุดเด่น
- นิทานที่เขียนขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญ EF ที่หยิบยกเอาสิ่งที่อยู่รอบตัวมาเป็นเรื่องเล่า สร้างสรรค์เป็นนิทานเพื่อพัฒนา EF
- เขียนโดย ย่าติ่ง – สุภาวดี หาญเมธี ผู้เชี่ยวชาญด้าน EF และผลักดันเรื่องทักษะสมอง EF เข้าสู่ประเทศไทย
- คำนิยมโดย นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ และคำแนะนำโดย ครูก้า-กรองทอง บุญประคอง ผู้เชี่ยวชาญด้าน EF
- ท้ายเล่มมีกิจกรรมส่งเสริมทักษะรอบด้านให้เด็ก ๆ ได้เล่น เรียน รู้
ประวัติผู้เขียน
ย่าติ่งหรือสุภาวดี หาญเมธี ผู้ก่อตั้งสื่อในเครือ “รักลูก ทำงานเรื่องพํมนาการเด็กบนความเชื่อว่า ถ้าไม่ใส่ใจการพัฒนาเด็กอย่างจริงจังและจริงใจ อนาคตของประเทศไทยไปไม่รอดแน่ งานท้ายๆของชีวิตคือตั้งใจผลักดันเรื่องทักษะสมอง EF และ Self ของเด็กให้เป็นความรู้สามัญประจำของทุกบ้าน
แนะนำโดยนักอ่าน คลิกอ่านฉบับเต็ม
วันนี้ เพราะเรา"รักลูก" มีนิทานที่ไม่เพียงสนุก แต่ยังส่งเสริมทักษะสมองส่วนหน้าของเด็กมาให้ทุกคนได้ลองกดเข้ามาดูกัน